สถาบันการบินพลเรือน

Civil Aviation Training Center

PILOT นักบินพาณิชย์

หน้าที่

  • เป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบอากาศยานรวมถึงความปลอดภัย
    ของผู้โดยสาร ลูกเรือ และสินค้า ระหว่างสถานีต้นทางจนถึงปลายทาง

 

โดยนักบินจะทำการ Walk Around ก่อนทำการบิน เพื่อตรวจสอบ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการทำการบินหรือไม่ เช่น ตรวจสอบท่อรับอากาศ (Pilot Tubes)
ท่อวัดอุณหภูมิ (TAT Probe) ช่องวัดความดัน (Static Ports) เสาอากาศที่ใช้รับ – ส่งสัญญาณวิทยุ ช่องประตูต่าง ๆ ตั้งแต่ช่องประตูที่วิศวกรใช้ในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องบิน หรือประตูห้องเก็บสัมภาระ ตลอดจนการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์

  • ในการทำการบินในแต่ละเที่ยวบินนั้น จะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานกันอย่างชัดเจนระหว่างกัปตัน (First Officer – F/O) และนักบินที่ 2 PF (Pilot Flying) กัปตันจะเป็นนักบินผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับและควบคุมเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับเครื่องบินบนทางขับ (Taxiing) การควบคุมเส้นทางการบินและความเร็ว (Flight path and Airspeed Control) ควบคุมการกางล้อ/แฟลบ (Aircraft Configurations) และการนำทาง (Navigation) PM (Pilot Monitoring) หรือ PNF (Pilot not Flying) จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการอ่านรายการเชคลิสต์ (Checklist Reading) การติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ การปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับการร้องขอมาจาก PF การเฝ้าดูและตรวจสอบเส้นทางการบิน ความเร็ว การนำทาง และข้อมูลของระบบต่าง ๆ ในเครื่องบิน กัปตัน หรือนักบินที่ 2 สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น PF หรือ PM อย่างใดอย่างหนึ่งได้ตลอดเวลา โดยกัปตันจะทำหน้าที่เป็น PIC หรือ Pilot in Command ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่ง PF หรือ PM ก็ตาม ในระหว่างที่เครื่องบินจอดอยู่ที่สนามบินเพื่อรับผู้โดยสารขึ้นมา
  • นักบินมีหน้าที่เตรียมเครื่องบินให้พร้อมก่อนที่ถึงเวลาออกเดินทาง (Departure Time) ประมาณ 15-20 นาที

ในการตั้งค่า กรอกข้อมูล ตรวจสอบ ทดสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ระบบนำทาง (Navigation System) ระบบไฟฟ้า (Electrical System) ระบบเชื้อเพลิง (Fuel System) ระบบป้องกันไฟไหม้ของเครื่องยนต์และ APU (Fire Protection System) ระบบปรับความดันและปรับอากาศ (Air conditioning and Pressurization System) ซึ่งจะอยู่ที่แผงอุปกรณ์ที่อยู่เหนือหัว (Overhead Panels) ตั้งค่าระบบควบคุมการบินที่อยู่บนแผงด้านหน้า (MCP/FCU) ระบบแสดงผลของนักบิน (EFIS) ตลอดจนระบบวิทยุ

  • นักบินต้องทำการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เพื่อขอรับคำอนุมัติที่จะใช้แผนการบินในการทำการบิน (Flight Plan ATC Clearance) ตลอดจนการตรวจสอบข่าวอากาศ ข้อมูลโดยทั่วไปของสนามบิน
  • นักบินักบินจะต้องทำการบรรยายสรุป การวิ่งขึ้น (Takeoff Briefing) ความสูง ทิศทาง สภาพอากาศ สภาพของทางวิ่ง วางแผนในกรณีเกิดเหตุเครื่องยนต์ขัดข้อง ก่อนที่จะทำการถอยออกจากจุดจอด (Push back) และทำการติดเครื่องยนต์

นจะต้องทำการบรรยายสรุป การวิ่งขึ้น (Takeoff Briefing) ความสูง ทิศทาง สภาพอากาศ สภาพของทางวิ่ง วางแผนในกรณีเกิดเหตุเครื่องยนต์ขัดข้อง ก่อนที่จะทำการถอยออกจากจุดจอด (Push back) และติดเครื่องยนต์

คุณสมบัติ

  • มีใบสำคัญแพทย์ Medical Certificate class I ที่ออกให้โดยสถาบันเวชศาสตร์การบิน
  • ผ่านการสอบภาษาอังกฤษ (English Language Proficiency Level 4) เป็นอย่างน้อย
  • มีใบอนุญาตพาณิชย์ตรี Commercial Pilot License (CPL)
  • มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการบินและกฎหมายการบินทั่ว ๆ ไป
  • ประสบการณ์ชั่วโมงบิน มีชั่วโมงบินรวมไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมง (ประเภท Fixed-wing เท่านั้น)
  • จบหลักสูตรการบินที่กรมการบินพาณิชย์เห็นชอบ
  • บุคคลที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี
  • ผ่านการคัดเลือกของบริษัทฯ

ผู้จ้างงาน

  • บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บางกอกแอร์เวย์ส, THAI AIRASIA, NOK AIR และสายการบินอื่น ๆ

รายได้โดยประมาณ

  • มากกว่า 100,000 บาท ต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์)