- เกี่ยวกับองค์กร
- ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
- ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร
- นโยบายและประกาศ
- แผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ สบพ. ปีงบประมาณ 2568-2572
- แผนยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์ ปีงบประมาณ 2568
- การแสดงความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม
- การกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนขององค์กร
- แผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปี
- การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในขององค์กร
- งบประมาณ
- รายงานผลการตรวจสอบและสอบทานงบการเงิน
- กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับ สบพ.
- จัดซื้อจัดจ้าง
- ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)
- รายงานประจำปี
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สบพ.
- ร่วมงานกับเรา
- รับเรื่องร้องเรียน
- ห้องสมุด
- เอกสารดาว์นโหลด (INTRA NET)
สถาบันการบินพลเรือน
ศูนย์ชำนัญพิเศษด้านการบินพลเรือนแห่งภูมิภาค
สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) เดิมเรียกว่า ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 โดยความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ (United Nations Special Fund: UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) และรัฐบาลไทย มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมนักศึกษาไทยและนักศึกษาจากประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวิชาชีพแขนงต่าง ๆ ของกิจการบินพลเรือนให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้น โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในด้านการบิน โดยในระยะแรกเป็นการดำเนินงานร่วมกันในรูปของคณะกรรมการบริหาร (Governing Board) และกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Board) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลไทยจึงได้รับโอนมาดำเนินการเอง และในปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนฐานะของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมการบินพาณิชย์ (ปัจจุบัน คือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) เป็นการชั่วคราวโดยยังมิได้มีกฎหมายรองรับจนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2530 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้เป็นส่วนราชการระดับกองในสังกัดกรมการบินพาณิชย์ โดยมีส่วนอำนวยการและสถานฝึกอบรมวิชาภาคพื้นที่กรุงเทพมหานคร และศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินและเครื่องช่วยเดินอากาศ ณ ท่าอากาศยานหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในปี พ.ศ. 2535 กรมการบินพาณิชย์ได้เสนอให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสามารถรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินที่ขยายตัวมากขึ้น โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง “สถาบันการบินพลเรือน” (Civil Aviation Training Center) มีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านการบินพลเรือน รวมทั้งดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศยาน บริการอากาศยานและกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกิจการบิน โดยได้รับโอนกิจการของกรมการบินพาณิชย์ในส่วนของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 และได้รับทุนประเดิมจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน))
ต่อมา สบพ. ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกา 2 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งที่ 1 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 แก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการ สบพ. สามารถแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้ว่าการจากกรรมการ สบพ. ได้ นอกเหนือจากการแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตำแหน่งผู้ว่าการว่างลง
การแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 แก้ไขเพื่อปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สบพ. ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การทำความตกลงหรือร่วมมือกับองค์การ หรือหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของ สบพ. การจัดตั้งบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ สบพ. เป็นต้น