วิชาโทโลจิสติกส์การบิน (ALM)




ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมงานทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในกระบวนการบริหารจัดการ การวางแผน การจัดสรรทรัพยากร การวิเคราะห์การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งเน้นการลดต้นทุน สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า และส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ
แผนการศึกษา : โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน (Bachelor of Science Program in Aviation Science) ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาสหกิจศึกษา และหมวดวิชาเลือกเสรี แต่ละหมวดวิชากำหนดสัดส่วนหน่วยกิตขั้นต่ำของหมวดวิชา ดังนี้
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 15 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก 8 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาบังคับร่วม 84 หน่วยกิต
2.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 45 หน่วยกิต
2.1.2 กลุ่มวิชาวิทยาการการบิน 39 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาโท 36 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาโทโลจิสติกส์การบิน (Aviation Logistics Minor Program: ALM)
3. หมวดวิชาสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
ระยะเวลาศึกษา : 4 ปี (12 ภาคการศึกษา)
ทั้งนี้ สามารถเลือกสาขาโทวิชาได้หลังจากจบชั้นปีที่ 2
ปฏิทินปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนกรกฎาคม – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนตุลาคม – มกราคม
ภาคการศึกษาที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
สำเร็จการศึกษา
- ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลไทย และองค์การการบินพลเรียนระหว่างประเทศ
การประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา :
1. เจ้าหน้าที่แผนกบริการลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศ (Customer Service in air cargo business)
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air freight forwarding sale and operation officer)
3. เจ้าหน้าที่ดำเนินพิธีการศุลกากรในบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ (Customs Formalities officer)
4. เจ้าหน้าปฎิบัติการนำเข้าส่งออกสินค้าของบริษัทผู้นำเข้าส่งออก (Operations officer in Importer & Exporter business)
จุดเด่นของหลักสูตร/ สาขาวิชา :
1. ทำความร่วมมือกับสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย (TAFA) ในการส่งนักศึกษาเข้าปฎิบัติงานสหกิจศึกษาและศึกษาดูงานตามสถานประกอบการภายใต้สมาชิกของสมาคมฯ
2. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์การบินมาบรรยายถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานให้แก่นักศึกษา
3. ศึกษาดูงานรูปแบบการขนส่งอื่นๆ หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์การบิน เช่น การขนส่งสินค้าทางทะเล การจัดการคลังสินค้า เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 340,000 บาท
รายละเอียดหลักสูตร
1. เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า
3. เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบไร้ความสามารถ ไม่เป็นตาบอดสี และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎ โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. เป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิด อันได้โดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
5. เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อยและรับรองต่อสถาบันการบินพลเรือนว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันการบินพลเรือนที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีในภายภาคหน้าต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
6. เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากสถานศึกษาใด ๆ เพราะมีความผิดทางวินัย