วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน (AMM)
ศึกษาเกี่ยวกับอาชีพงานด้านการบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการจัดการธุรกิจงานบำรุงรักษาอากาศยาน ตั้งแต่เริ่มต้นต่อเนื่องจนสิ้นสุดกระบวนการในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งต้องมีการวางแผน บริหารจัดการควบคุมคุณภาพ ดูแลให้มีการคงความความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน โดยการศึกษาศาสตร์ของการปฏิบัติงานในองค์ประกอบที่สัมพันธ์และสนับสนุนกับการบำรุงรักษาอากาศยานแบบครบวงจร เพื่อมุ่งเน้นให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถมาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน โดยเฉพาะธุรกิจของอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยานในระดับสากล
แผนการศึกษา : โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 176 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 15 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก 8 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาบังคับร่วม 84 หน่วยกิต
2.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 45 หน่วยกิต
2.1.2 กลุ่มวิชาวิทยาการการบิน 39 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาโท 36 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance Minor Program : AMM)
3. หมวดวิชาสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
ระยะเวลาศึกษา : 4 ปี (12 ภาคการศึกษา)
ทั้งนี้ สามารถเลือกสาขาวิชาโทได้หลังจากจบชั้นปีที่ 2
ปฏิทินปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 มิ.ย. – ก.ย.
ภาคการศึกษาที่ 2 ต.ค. – ม.ค.
ภาคการศึกษาที่ 3 ก.พ. – พ.ค.
สำเร็จการศึกษา
- ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลไทย และองค์การการบินพลเรียนระหว่างประเทศ
การประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา :
1. เจ้าหน้าที่บริการด้านข้อมูลเทคนิค (Technical Services Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
2. เจ้าหน้าที่บริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Control Center) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
3. เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านการบิน (Quality Assurance Engineering Officer) ประจำหน่วยซ่อมอากาศยาน และสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
4. เจ้าหน้าที่วางแผนการซ่อมบำรุง (Planning Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety Officer) สายการบินต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐทั้งภายในและต่างประเทศ
6. เจ้าหน้าที่ประสานงานปฏิบัติการด้านการบิน (Operations Control Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
7. เจ้าหน้าที่ประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยด้านการบิน (Aviation Security Risk Monitoring Officer) สายการบินต่างๆ และประจำหน่วยงานภาครัฐ ทั้งภายในและต่างประเทศ
8. เจ้าหน้าที่บริหารงานปฏิบัติการด้านการบิน (Operations Management Center Administrator) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
จุดเด่นของหลักสูตร/ สาขาวิชา :
1. ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน ในการส่งนักศึกษาเข้าโครงการสหกิจศึกษา
2. เชิญวิทยากรระดับผู้บริหารจากหน่วยงานด้านการบินมาบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงาน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 350,000 บาท
รายละเอียดหลักสูตร
1. เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า
3. เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบไร้ความสามารถ ไม่เป็นตาบอดสี และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎ โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. เป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิด อันได้โดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
5. เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อยและรับรองต่อสถาบันการบินพลเรือนว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันการบินพลเรือนที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีในภายภาคหน้าต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
6. เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากสถานศึกษาใด ๆ เพราะมีความผิดทางวินัย